ผลงานการสร้างสรรค์ของเขาทุกชิ้น ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็น “มรดกโลก” ของ องค์การยูเนสโก โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงบาร์เซโลนา แคว้นกาตาโลเนีย ประเทศสเปน
อันโตนิโอ เกาดี้ |
ด้านหน้าสกราดา ฟามีเลีย |
เขาก็เริ่มสร้างชื่อในการเป็นสถาปนิกชั้นเอก ตั้งแต่ที่ยังเป็นนักศึกษา เริ่มจากปี 1878-1879 อันโตนีได้สร้างชื่อในการออกแบบโคมไฟประดับจัตุรัสเรอิยัล (Placa Reial) กลางกรุงบาร์เซโลนา และในปี 1878 ผลงานการออกแบบบริษัทผลิตถุงมือ โกเมลยา ก็ได้ไปออกงานเวิลด์แฟร์ที่กรุงปารีส
นั่นคือเส้นทางที่ทำให้นักอุตสาหกรรม อย่าง เคานต์เออูเซบี กูเอลล์ ได้รู้จักสถาปนิกดาวรุ่งคนนี้ และกำลังจะกลายเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญในกาลต่อมา
ในปี 1878-1882 เขาออกแบบอาคารไม้ให้โรงงานทอผ้า โอเบรรา มาตาโรเนนเซ (Obrera Mataronense) ในมาตาโร ทว่า มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการสร้างออกมาเป็นอาคารจริง ในงาน ออกแบบดังกล่าว อันโตนี ได้นำเอาลักษณะของ เสา/หลังคาโค้งรูปไข่ (Parabolic Arches) มาใช้เป็นครั้งแรกในอาคารไม้
สกราดา ฟามีเลีย |
ในปี 1884 ผลงานชิ้นแรกที่เขาสร้างสรรค์ให้เคานต์เออูเซบี กูเอลล์ ได้แก่ ฟินกา กูเอลล์ (Finca Guell) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนามของโซนา อูนิเวร์ซิตาเรีย (Zona Universitaria) ซึ่งสร้างความตื่นตะลึงตั้งแต่หน้าประตูโลหะไปจนกระทั่งสวนสวย และสถาปัตยกรรมอาคารด้านใน
อันโตนี เริ่มต้นผลงานสุดอลังการ และกลายเป็นสถานที่ที่ใครไปบาร์เซโลนาต้องไปเยือน นั่นคือ สกราดา ฟามีเลีย (Sagrada Familia หรือ The Sacred Family) วิหารที่ศักดิ์สิทธิ์แบบที่มีห้องใต้ดินสำหรับฝังพระศพของครอบครัวพระคริสต์ ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก โดย ฟรานซิสโก เดล บิลลาร์ หยุดทำไปเฉยๆ อันโตนีจึงเข้ามารับงานต่อ
ปาเลา กูเอลล์ (Palau Guell) ทาวน์เฮาส์ของครอบครัวกูเอลล์ กลางกรุงบาร์เซโลนา ได้รับการออกแบบและสร้างอย่างอลังการในปี 1885-1889 ระหว่างนั้นเขายังไปสร้างพระราชวังสไตล์ โกธิก เอปิสโกปาล พาเลซ (Episcopal palace) ที่ อัสตอร์กา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสเปนด้วย
ผลงานชิ้นต่อมานับว่าแตกต่างไปจากที่ผ่านๆ มาอย่างสิ้นเชิง กับ โกเลจิโอ เตเรเซียโน (Colegio Teresiano หรือโรงเรียนเซนต์เทเรซา) ซึ่งนับเป็นการออกแบบอย่างเรียบง่าย ไม่มีลวดลายวิจิตรพิสดารเช่นที่เคย หากเป็นการเล่นกับเส้นสายโครงสร้างตัวอาคารมากกว่า
ในยุคหลังๆ ของอันโตนิโอ เกาดี้ เขามุ่งมั่นกับการรับใช้ศาสนา โดยเลิกรับงานอย่างอื่น หันไปทุ่มเทให้คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก โดยเฉพาะผลงานที่สร้างไม่ยอมเสร็จ อย่าง สกราดา ฟามีเลีย ซึ่งเขาออกแบบเอาไว้ให้มีหอระฆังถึง 18 แห่ง 12 หอที่สร้างเสร็จแล้ว เพื่อระลึกถึงสาวก 12 คนของพระเยซู ส่วนอีก 4 หอระฆังสำหรับ 4 ผู้เผยพระวจนะของพระองค์ ทั้ง 16 หอระฆังสูง 100 เมตร ออกแบบให้เชื่อมโยงกับโถงใหญ่ ที่จะนำมาสู่หอระฆังคู่ซึ่งสูงที่สุดบริเวณด้านหน้า (170 เมตร) ที่สร้างเพื่อสดุดีพระแม่มารีและพระเยซูคริสต์นั่นเอง
เวลาผ่านไป ผู้ร่วมงานของเขาก็ล้มหายตายจากไปทีละคนๆ ทำให้การก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นไปด้วยความล่าช้า ผนวกกับพิษเศรษฐกิจของบาร์เซโลนาที่ไม่ปรานีใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ อุปถัมภ์คนสำคัญของเขา เคานต์เออูเซบี เสียชีวิตลง
ดาดฟ้าคาซ่าบัตโย |
เขาเสียชีวิตใน 3 วันต่อมา ผู้คนกว่าครึ่งค่อนเมืองบาร์เซโลนาออกมาไว้อาลัยจนทั่วท้องถนน ร่างอันไร้วิญญาณได้รับการบรรจุเอาไว้ ณ ใจกลางของสกราดา ฟามีเลีย นั่นเอง
คาซ่าบัตโย |
ใครที่ไปเยือนสกราดา ฟามีเลีย จะได้เห็นถึงอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์ของยอดสถาปนิก ที่ได้แรงบันดาลใจจากอาคารสมัยโกธิก ผสมผสานกับขนบในการก่อสร้างอาคารแบบสเปนแท้ การออกแบบเสาเลียนแบบต้นไม้ การทดลองนำเอาถุงทรายเล็กๆ มาถ่วงน้ำหนัก เพื่อการออกแบบจัดวางเสา โค้งประตู/หลังคา ผนัง และห้องใต้ดิน ที่ผ่านการคำนวณมาแล้วอย่างแม่นยำ
มองผ่านกระจกในคาซ่าบัตโย |
เสาทุกต้นในสกราดา ฟามีเลีย เลียนแบบโครงร่างของต้นมะพร้าว โครงเหล็กประดับประตูของปาเลากูเอลล์ เลียนแบบรังของตัวต่อ รั้วปาร์กกูเอลล์ (Parc Guell) ลอกเลียนจากรูปทรงใบตาล หลังคาโรงเรียนเกาดี้ (หรือโรงเรียนสกราดา ฟามีเลีย) ออกแบบตามโค้งธรรมชาติของใบไม้ ฯลฯ
คาซา บัตโย (Casa Batllo) ทาวน์เฮาส์ของครอบครัวบัตโยกลางกรุงบาร์เซโลนา เป็นอีกหนึ่งผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ที่สามารถเห็นอัจฉริยภาพและแรงบันดาลใจจากธรรมชาติได้อย่างชัดเจน ในบ้านแสนมหัศจรรย์นี้ปราศจากเส้นตรง เพราะในธรรมชาติเองก็ไม่มีเส้นตรง ไม่ว่าจะเป็นกรอบประตู/หน้าต่าง ราวบันได กระจก ฯลฯ ล้วนกอปรขึ้นด้วยเส้นสายโค้งมนเลียนแบบธรรมชาติทั้งสิ้น
ที่น่าตื่นเต้นที่สุด ก็คือ การออกแบบกระจกใสให้มองผ่านไปแล้ว ราวกับกำลังเดินอยู่ ณ ใต้บาดาล
ภาพถ่ายและคำบรรยายทั้งหลายล้วนไม่ได้ครึ่งของการมีโอกาสได้ไปสัมผัสมรดกโลกเหล่านี้จริงๆ