Self Portrait: Between the Clock and the Bed (1940-43) |
Madonna (1894-1895) |
การจัดแสดงภาพในนิทรรศการ Edvard Munch: Between the Clock and the Bed แสดงให้เห็นภาพที่ เอดวาร์ด มุงค์ วาดแล้วนำกลับมาวาดใหม่ในเวอร์ชั่นต่างๆ ภาพไหนวาดไว้มากที่สุดก็จะจัดเอาไว้เป็นกลุ่มเป็นก้อนใหญ่ในนิทรรศการ ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นศิลปินที่ฉีกกฎเกณฑ์ของศตวรรษที่ 20 ในฐานะจิตรกรผู้โดดเด่นแห่งยุคซิมโบลิสม์ (Symbolism) หรือยุคศิลปะสัญลักษณ์ อย่างชัดเจน
แนวคิดและใจความสำคัญของผลงานศิลปะชิ้นสุดท้ายของ เอดวาร์ด มุงค์ สามารถที่จะเชื่อมโยงกลับไปถึงจิตรกรรมในช่วงก่อนหน้าของเขาได้มากมาย โดยในนิทรรศการได้จัดแสดงภาพเขียนหลายๆ ยุคเอาไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้เข้าชมสามารถจะจับเอาเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขององค์ประกอบภาพ รวมทั้งเทคนิควิธีการที่ไม่เหมือนใครของจิตรกรผู้เอกอุ
ภาพแรกที่เราจะได้เห็นเมื่อเข้าไปในนิทรรศการ ไม่ใช่ภาพดังอย่าง The Scream (1893) Madonna (1894-1895) หรือ Puberty (1895) หากเป็นภาพจากช่วงสุดท้ายในชีวิตของเขา ที่นำมาตั้งเป็นชื่อนิทรรศการ Self Portrait: Between the Clock and the Bed ซึ่งบอกเล่า “มู้ด แอนด์ โทน” ของนิทรรศการที่จะได้ชมต่อไปนี้ว่า ไม่ธรรมดา และแตกต่างจากการรวบรวมผลงานของเอดวาร์ด มุงค์ ที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
The Scream (1893) |
ขณะที่ภาพเซลฟ์พอร์เทรตอีก 15 ภาพ ก็นับว่าเป็นกลุ่มภาพที่ เอดวาร์ด วาดอยู่บ่อยๆ โดยมีตั้งแต่ภาพวัยหนุ่ม ไปจนถึงวัยชรา ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นการวาดเพื่อพิเคราะห์ความเป็นตัวเอง (Self-scrutinies) ในหลากหลายแง่มุม โดยส่วนตัวแล้ว เอดวาร์ด มุงค์ บอกว่า ภาพเหล่านี้เป็นการบ่งบอกจุดเปลี่ยนของชีวิต เป็นอัตชีวประวัติ เป็นการสารภาพบาป เป็นการศึกษาสภาพทางจิต อีกทั้งยังเป็นวรรณกรรมแห่งชีวิตของเขาอีกด้วย
Puberty (1894) |
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีผลงานชิ้นสำคัญ Sick Mood at Sunset, Despair (1892) ที่ถือว่าเป็นปฐมบทของผลงานเลื่องชื่อที่สุดของเขา และเป็นสุดยอดผลงานที่น่าจดจำที่สุดในยุคศิลปะสมัยใหม่ อย่าง The Scream ซึ่งออกมาจัดแสดงนอกยุโรปเป็นครั้งที่ 2 เท่านั้นในหน้าประวัติศาสตร์
Sick Mood at Sunset, Despair (1892) |
ไปชมได้ตั้งแต่วันนี้-4 ก.พ. ศกหน้า ณ เดอะ เม็ต บรอยเออร์ ถนนเมดิสัน กรุงนิวยอร์ก สหรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น